Miss SUPATTRA

Miss SUPATTRA

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการบริหารองค์กร

ทฤษฎีการบริหารองค์กรอาจจัดได้ 4 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. ทฤษฎีการบริหารองค์กรตามแนวคิดคลาสสิก (classical organization theory) (วิชัย ตันศิริ, 2549, 295-306)   
     1.1 ทฤษฎีบริหารองค์กรเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแนวคิดของ Taylor ความหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คือ จะบริหารให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้อย่างไร Taylor ได้เสนอระบบการจ้างงานบนพื้นฐานของการสร้างแรงจูงใจไว้ 3 ประการ คือ
          1.1.1 การแบ่งงาน (division of labors)
          1.1.2 การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (hierarchy)
          1.1.3 การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (incentive payment)

     1.2 ทฤษฎีการบริหารองค์กรอย่างเป็นทางการ (Formal Organization Theory) จากแนวคิดของ Fayol ที่วางหลักการไว้ 7 ประการ ดังนี้
          1.2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง คือ การแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
          1.2.2 หลักสายบังคับบัญชา ที่เริ่มต้นจากยอดพีระมิดของผู้บังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำที่สุด
          1.2.3 หลักเอกภาพของการบังคับบัญชา
          1.2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล
          1.2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง
          1.2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด
          1.2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายการบังคับบัญชา

     หลักการบริหารการจัดโครงสร้างนี้ต่อมา Gulic ได้มาปรับจนเป็นหลักการบริหารที่สำคัญในยุคต้นของศาสตร์การบริหารที่มีชื่อย่อว่า POSDCORB

     1.3 ทฤษฎีการบริหารองค์กรในระบบราชการ (bureaucracy) หลักการและแนวคิดนี้มาจากแนวคิดของ Weber ประกอบด้วยหลักการดังนี้
          1.3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย ทุกคำสั่งมาจากอำนาจที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือกฎระเบียบ
          1.3.2 การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
          1.3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
          1.3.4 การบริหารงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
          1.3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ การเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ เป็นไปตามหลักอาวุโส และระบบคุณธรรม

2. ทฤษฎีการบริหารองค์กรเชิงมนุษยสัมพันธ์ (human relations school) (วิชัย ตันศิริ, 2549, หน้า 297)
     จากจุดอ่อนบางประการของทฤษฎีการบริหารตามแนวคลาสสิก คือ การที่แนวคลาสสิกมองคนเป็นเครื่องยนต์กลไก และสมาชิกขององค์กรเป็นเพียงเครื่องมือ แต่ด้วยข้อเท็จจริงแล้วในความเป็นมนุษย์ย่อมแตกต่างจากเครื่องยนต์ และมนุษย์ย่อมสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดกลุ่มที่ไม่เป็นทางการในองค์กร จึงทำให้เกิดทัศน์ใหม่ของกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ โดยมีข้อค้นพบที่สำคัญของกลุ่มนี้คือการค้นพบว่าคนงานจะสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์มีความสำคัญมาก จึงเน้นให้ความสำคัญกับเรื่อง ขวัญกำลังใจแรงจูงใจ ลีลาการเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ และพลวัตกลุ่ม

ทฤษฎีการจูงใจ (motivation hygiene theory) Harzberg เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้คนทำงาน คือ
          1) ความสำเร็จ
          2) การยกย่อง
          3) ความก้าวหน้า
          4) ลักษณะงาน
          5) ความรับผิดชอบ
          6) ความเจริญเติบโต

3. ทฤษฎีการบริหารองค์กรตามแนวคิดเชิงระบบ (system theory) (วิชัย ตันศิริ, 2549, หน้า 298)
     ทฤษฎีระบบมีข้อสมมติฐานว่า สังคมเป็นระบบอุปมาเหมือนระบบร่างกายมนุษย์สัตว์ พืช ที่ทำงานเป็นระบบซึ่งหมายความว่าทุก ๆ ส่วนของร่างกายมนุษย์มีส่วนสัมพันธ์กันหากส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดปัญหา (ติดเชื้อโรค) ก็จะกระทบการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น ๆ ด้วย ขณะเดียวกันระบบของร่างกายมนุษย์ก็ดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อม ระบบของร่างกายมนุษย์จะดำรงอยู่ได้ต้องสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น ในพื้นที่ที่อากาศร้อน ร่างกายก็จะมีเหงื่อออก เพื่อลดความร้อน หรืออุณหภูมิในร่างกาย หากในสภาพอากาศหนาวร่างกายก็ต้องปรับอุณหภูมิให้ร่างกาย

     โดยสรุป ระบบจึงมีข้อสมมติฐานว่า ส่วนประกอบของระบบต้องสัมพันธ์กันระบบต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นสังคมยังต้องพิจารณาถึงระบบปิดระบบเปิด ระบบปิด คือ ไม่ยอมรับข้อมูลใหม่จากสิ่งแวดล้อม ส่วนระบบเปิดนั้น ยอมรับข้อมูลใหม่ตลอดเวลา

     การบริหารเชิงระบบ การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหาร ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันองค์กรมีการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้นจึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์กร เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์กร องค์กรเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่
          1) ปัจจัยการนำเข้า Input
          2) กระบวนการ Process
          3) ผลผลิต Output
          4) ผลกระทบ Impact

     วิธีการระบบเป็นวิธีการที่ใช้หลักตรรกศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล และมีความสัมพันธ์กันไปตามขั้นตอนช่วยให้กระบวนการทั้งหลายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสามารถช่วยให้การบริหารบรรลุวัตถุประสงค์ไปด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและไม่ลำเอียง (สมศักดิ์ คงเที่ยง, 2546, หน้า 127) การบริหารระบบคุณภาพ กระบวนการบริหารจัดการคุณภาพที่สำคัญและมีประสิทธิภาพก็คือ การใช้วงจร PDCA เป็นเครื่องมือบริหารระบบคุณภาพ

P คือ (Plan) เป็นองค์ประกอบแรกที่สำคัญที่สุด การวางระบบที่ดีจะต้องกำหนดขั้นตอนการทำงานเป็นกระบวนการ มาตรฐานแต่ละขั้นตอนมีวิธีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและการบันทึกการทำงานทุกขั้นตอนเป็นปัจจุบัน ข้อมูลจากบันทึกนี้จะนำไปสู่การตรวจสอบ ประเมินตนเอง และให้ผู้อื่นตรวจสอบได้เพราะข้อมูลที่ได้จะเป็นสารสนเทศที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของระบบย่อยนั้น หลาย ๆ ระบบย่อยก็จะเห็นคุณภาพรวมของโรงเรียนทั้งหมด

D คือ (Do) การดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เป็นการปฏิบัติร่วมกันของทุกคนโดยฐานโรงเรียนตามกระบวนการ วิธีการและบันทึก บุคคลที่รับผิดชอบในองค์กรต้องดำเนินการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

C คือ (Check) การตรวจสอบ/ประเมินผลทบทวนระบบ เป็นการประเมินตนเองร่วมกันประเมิน หรือผลัดเปลี่ยนกันประเมินเพื่อเป็นการทบทวนการปฏิบัติงาน เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญและจำเป็นมากที่จะพัฒนาคุณภาพ 

A คือ (Action) การแก้ไขพัฒนาระบบ เป็นการนำผลการประเมินมาแก้ไขพัฒนาระบบ ซึ่งอาจแก้ไขพัฒนาในส่วนที่เป็นกระบวนการ (ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์, 2547, หน้า 6)


4. ทฤษฎีการบริหารองค์กรตามแนวปฏิบัติการทางสังคม (social action theory)
     ทฤษฎีตามแนวปฏิบัติการทางสังคม มีความเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมองโลกตามอัตวิสัย 
“ความจริงที่ปรากฏ” ได้รับการแปลความหมายตามทัศนคติ (อคติ) ของแต่ละบุคคลโลกแห่งความเป็นจริงมิได้ดำรงอยู่ในสภาวะ “วัตถุวิสัย” ฉะนั้นการพิจารณาเป้าหมายขององค์กรว่าเป็นที่เข้าใจตรงกันของทุก ๆ คนนั้นเป็นไปไม่ได้ “เป้าหมาย” จะปรากฏเป็นจริงตามกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มาทำงานร่วมกัน

ขั้นตอนการวางระบบบัญชี


วางแผนการสำรวจและวิเคราะห์
ก. ผังองค์การ นโยบายของบริษัท จะต้องทราบถึงการบริหารงานภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการหรือกรรมการของกิจการ อีกทั้งควรทราบนโยบายการบริหารงานอำนาจการอนุมัติ
ข. รายละเอียดของสินค้า/บริการ การสำรวจข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือการให้การบริการแก่ลูกค้า การตั้งราคา การกำหนดต้นทุน การคำนวณหาสินค้าคงเหลือของกิจการ
ค. แยกประเภทของงานบัญชี การเงิน งบการเงิน กำหนดรูปแบบงานบัญชีตามประเภทของการดำเนินงาน แนวทางการจัดทำรายการต่างๆ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร การจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม
ง. ผังแสดงการเดินทางของข้อมูล เอกสาร พิจารณาดูการเดินทางของเอกสารต่างๆ ว่ามีการเดินทางไปแหล่งที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่เริ่มออกเอกสารจน สิ้นสุดกระบวนการไม่ว่จะเป็น ใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือการออกเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
จ. รายละเอียดของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินงาน การใช้ทรัพย์สิน การจัดซื้อหรือการคิดค่าเสื่อมราคา
ฉ. ข้อมูลทางการตลาด การขาย การประชาสัมพันธ์ การวางแผนการตลาด การกำหนดขั้นตอนในการจำหน่าย การจ่ายค่านายหน้า หรือค่าใช้จ่ายของพนักงานขาย แนวทางการประชาสัมพันธ์
ช. รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงิน การตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย วันครบกำหนด การชำระดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้น วงเงินกู้ หรือเบิกเงินเกินบัญชี
การออกแบบและกำหนดระบบของบัญชี
ก. ผังบัญชี และรหัสบัญชี ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทำบัญชีสะดวกง่ายต่อ การพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสมารถทำคำอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ข. สมุดบัญชีต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี การกำหนดรูปแบบของสมุดบัญชีต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายบัญชี ส่วนรูปร่างหน้าตาของสมุดบัญชี ในทางปฏิบัติมักจะนิยมใช้สมุดบัญชีรายวันให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี
ค. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การออกแบบใบสำคัญจ่าย-รับเงิน เพื่อช่วยในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจอสอบ และควบคุมภายในได้เป็อย่างดี
ง. การจัดทำรายงาน การออกแบบรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึง ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ การพิจารณาหรือการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร
จ. การรองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ ในกรณีที่กิจการต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องพิจารณาถึงเอกสารใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
การวางแผนการนำออกมาใช้
ก. ทดลองการใช้เอกสาร เส้นทางการเดินของเอกสาร เมื่อได้ออกแบบและกำหนด แนวทางเดินของเอกสารขึ้นมาเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นการนำ รูปแบบของเอกสารต่างๆ ออกมาใช้เพื่อพิจารณาดูการเดินของเอกสารว่ามีปัญหาในจุดหรือแหล่งใด หรือผู้ปฏิบัติได้เขียนหรือใช้เอกสารได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่
ข. การลงรายการต่างๆ ในสมุดบัญชี หรือคอมพิวเตอร์ การนำเอกสารรายการค้าบันทึกในสมุดบัญชีหรือคอมพิวเตอร์จะต้องจัดเตรียม ข้อมูล เอกสารเพื่อบันทึกลงในสมุดบัญชีต่างๆ ได้ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร
ค. การทดลองรายงาน การออกแบบรายงานแล้วนำออกมาใช้มักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ รายงานที่นำออกมาใช้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้บริหาร ดังนั้น เมื่อมีการทดลองออกรายงานทางการเงิน ผุ้ออกแบบจะต้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแนะนำหรือระบุความต้องการเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำรายงานออกไปใช้ ให้เกิดประโยชน์
การติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขระบบบัญชี      ก. การลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ขั้นตอนในการออกเอกสาร การอนุมัติ การเบิก จ่ายเงินการบันทึกรายการบัญชี หากพบว่าขั้นตอนใดซ้ำซ้อน หรือไม่มีความจำเป็นทำให้เกิด ความยุ่งยากเสียเวลาก็ให้ตัดรายการ หรือขั้นตอนนั้นออกไป
ข. ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบบัญชีมักจะมีผลกระทบต่อการทำงานในระยะเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติยังไม่เคยชิน จะต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่าจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งจึงจะไม่ล่าช้าหรือ เสียเวลา

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

สิงคโปร์ประเทศที่รวยที่สุดในโลกประจำปีนี้




      สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับ ให้เป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปีนี้ จากการวัดรายได้ประชากรต่อหัว โดยผู้จัดอันดับเชื่อว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า ตำแหน่งนี้ก็ยังเป็นของสิงคโปร์อยู่ดี เพราะจำนวนเศรษฐีที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์นั้น มีมากขึ้นเรื่อยๆ  Knight Frank บริษัทให้คำปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์และที่พักอาศัย และ Citi Private Bank เปิดเผยผลการจัดอันดับ ประเทศที่ร่ำรวยมากที่สุดในโลก โดยวัดจากรายได้ประชากรต่อหัว ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว ตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ ประเทศเล็กๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 56,532 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,780,000 บาทต่อคน ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สูงที่สุด แซงหน้าประเทศนอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกงโดยในรายงานดังกล่าวยังมีการคาดการณ์ว่า อีก 30 ปีข้างหน้า สิงคโปร์ก็จะยังครองตำแหน่งประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก และมีประเทศฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ตามมาติดๆ ขณะที่ นอร์เวย์และสวิตเซอร์แลนด์ จะสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวไป ซึ่งรายงานดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของใครหลายคน เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีเศรษฐีใหม่ ที่มีสินทรัพย์เกินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเศรษฐีที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 และจำนวนเศรษฐีใหม่เหล่านี้ ยังคงเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่มีสัดส่วนจำนวนเศรษฐีต่อจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกอีกด้วยและเมื่อเทียบกับจำนวนของเศรษฐีที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่มีอยู่ทั่วโลกนั้น สิงคโปร์มีจำนวนมากถึง 18,000 คน ซึ่งมากกว่าปริมาณของเศรษฐีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่นรวมกัน ซึ่งในทวีปอเมริกาเหนือนั้น มีเพียง 17,000 คน และในยุโรปมีเพียงแค่ 14,000 คนเท่านั้นนอกจากสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกแล้ว ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีความสำคัญที่สุดของบรรดากลุ่มเศรษฐีลำดับที่ 5 ของโลก รองจากกรุงลอนดอน , นครนิวยอร์ก , ฮ่องกง และกรุงปารีส เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความรู้ความสามารถ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์ได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด

อาหารประจำชาติอาเซียน

อาหารประจำชาติฟิลิปปินส์ – adobo ( อโดโบ้ )
อาหารประจำชาติอินโดนีเซีย - Bakmi Goreng ( บาคมิ โกแร๊ง
อาหารประจำชาติมาเลเซีย - Nasi Lemak ( นาซิ เลอมัก )
อาหารประจำชาติสิงคโปร์ – ข้าวมันไก่สิงคโปร์
อาหารประจำชาติบรูไน - Udang Sambal Serai Bersantan
( ยูดาน ซามบาล ซีไร เบอซานตา )
อาหารประจำชาติกัมพูชา - Amok ( อาม็อก)
อาหารประจำชาติลาว – ส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง
อาหารประจำชาติไทย – Tom Tam Goong (ต้มยำกุ้ง)
อาหารประจำชาติเวียดนาม – Pho ( เฝอ )
อาหารประจำชาติเมียร์ม่า (พม่า) – Mo Hin Ga
(ขนมจีนน้ำยาป่าปลาช่อน-หยวกกล้วย สูตรพม่า )

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

10 เกาะสวย-ดีที่สุดในโลก



  อันดับ 10 เกาะแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

           อันดับที่ 9 เกาะบิ๊ก ไอส์แลนด์ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา (ตกจากปีที่แล้วอยู่อันดับ 7)

           อันดับที่ 8 หมู่เกาะมัลดีฟส์ สาธารณรัฐมัลดีฟส์

           อันดับที่ 7 หมู่เกาะเอโอเลียน ประเทศอิตาลี

           อันดับที่ 6 เกาะมาอูอิ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา (ตกลงมาเยอะเพราะปีที่แล้วอยู่อันดับ 3)

           อันดับที่ 5 เกาะ Mount Desert ในรัฐเมน สหรัฐอเมริกา

           อันดับที่ 4 เกาะคาอูอิ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา (คงเส้นคงวาเพราะปีที่แล้วอยู่อันดับ 4)

           อันดับที่ 3 เกาะเคป เบรตัน ในรัฐโนวา สโกเชีย ประเทศแคนาดา (ปีนี้ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก กระโดดจากปีที่แล้วอยู่อันดับ 10)

           อันดับที่ 2 หมู่เกาะกาลาปาโกส ประเทศเอกวาดอร์ (เป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับโลกมาตลอดแต่ปีนี้ไม่ได้แชมป์แต่กลับเป็นรองแชมป์แทนเพราะปีที่แล้วอยู่อันดับ 1)

           อันดับที่ 1 เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (เอเซียในบ้านเรามีสถานที่สวยงามและน่าสนใจเหมือนกัน และก็ติดอันดับโลกมาตลอดเช่นกัน ปีนี้ไต่ขึ้นเป็นแชมป์ หลังเมือปีก่อนอยู่อันดับ 2)