Miss SUPATTRA

Miss SUPATTRA

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บัญชีขั้นต้น

บัญชีบริหาร

ความหมายของคำว่า "การบัญชี"
          คำนิยามที่ใช้กันมาก ได้แก่ คำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา AICPA--The American Institute of Certified Public Accountants ให้คำจำกัดความไว้ว่า การบัญชี หมายถึง "การจดบันทึก การจำแนก การสรุปผลและการรายงานเหตุการณ์เกี่ยวกับการเงินโดยใช้หน่วยเงินตรา รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย"

          การบัญชีเป็นงานบริการอย่างหนึ่งที่ให้ข้อมูลเป็นตัวเลขทางการเงินเกี่ยวกับกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ การบัญชีการเงินเป็นสาขาหนึ่งการบัญชี ซึ่งเน้นในเรื่องการรายงานให้ทราบถึงผลการดำเนินงานฐานะการเงินและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการรายงานดังกล่าวเรียกว่า "งบการเงิน"

งบการเงิน (financial statement)
          งบการเงิน หมายถึง งบกำไรสะสม งบดุล งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน หมายเหตุงบย่อย และคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

          งบการเงินเป็นผลผลิตของกระบวนการบัญชีการเงินทั้งหมด กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปภายในขอบเขตของหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งกำหนดว่าข้อมูลใดควรบันทึกไว้ในบัญชีและควรบันทึกเมื่อใดควรวัดค่าข้อมูล และควรเปิดเผยข้อมูลนั้นอย่างไร

          ฝ่ายจัดการของกิจการอาจจัดทำงบการเงินขึ้น เพื่อประโยชน์ของตนเองได้หลายวิธีต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับวัตถุประสงค์ภายในของกิจการนั้น ๆ แต่เมื่อเป็นงบการเงินที่แสดงแก่บุคคลภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ ลูกจ้าง ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป ฯลฯ แล้วงบการเงินดังกล่าวควรสอดคล้องกับมาตรฐานของการบัญชีที่ ก.บช. และสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยกำหนด
     
          ลักษณะขั้นมูลฐานของการบัญชีการเงิน ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของกิจการ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร (ขาดทุน) สุทธิ ลักษณะขั้นมูลฐานจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของสภาพแวดล้อม หรือข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชีเป็นสำคัญ

งบดุล (balance sheet)
          งบดุล หมายถึง งบแสดงฐานะทางการเงินของธุรกิจ ณ วันใดวันหนึ่งตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  ซึ่งจะแสดงให้ทราบว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของจำนวนเท่าใด

          รายละเอียดการแสดงสินทรัพย์ในงบดุลจะเรียงตามสภาพคล่อง โดยเงินสดจะมีสภาพคล่อง โดยเงินสดจะมีสภาพคล่องสูงที่สุดเพราะสามารถจ่ายชำระหนี้ได้เร็วกว่าสินทรัพย์อื่น

งบกำไรขาดทุน (profit and loss statement หรือ income statement)
          งบกำไรขาดทุน หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่กำหนดแต่จะต้องไม่เกิน 1 ปี เพื่อวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลานั้นเท่าใด และเมื่อนำรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายแล้ว จะเป็นกำไรสุทธิ (net income หรือ net profit) หรือขาดทุนสุทธิ (net loss)

แม่บทการบัญชี

แม่บทการบัญชี

ข้อสมมติการจัดทำงบการเงิน
1.เกณฑ์คงค้าง (accrual basic) รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้เมื่อเกิดขึ้น (earned) มิใช่เมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด (realized) หรือได้รับหรือจ่ายสิ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสมดได้ในอนาคต (realizable) นอกจากนี้รายการต่าง ๆ จะบันทึกและแสดงในงบการเงินตามงวดที่เกิดรายการ
ตัวอย่าง
การขายสินค้าเป็นเงินสด หรือ การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ รายได้เกิดขึ้นแล้วหากมีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว ดังนั้นการรับรู้เป็นรายได้ของงวด โดยยึดเรื่องการเกิดขึ้นมิใช่การรับเงิน เป็นเกณฑ์การรับรู้รายได้ แต่ถ้าหากลูกค้าจ่ายเงินล่วงหน้าค่าสินค้า รายได้ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อ กรณีนี้จะรับรู้เป็นรายได้รับล่วงหน้า หรือหนี้สิน
การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงินสด หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว หากได้รับการบริการแล้วในงวดนั้น ถึงแม้จะได้จ่ายเป็นเงินสด หรือยังไม่จ่ายเงินก็ตาม ถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้น โดยยึดการเกิดขึ้นมิใช่การจ่ายเงิน แต่ถ้าหากเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ถือว่าค่าใช้จ่ายยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ได้รับบริการในงวดนั้นแต่มีการจ่ายเงินแล้ว กรณีนี้จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์
การใช้เกณฑ์คงค้างในการจัดทำงบการเงิน จะทำให้ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินสะท้อนฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการได้ถูกต้องกว่าเกณฑ์เงินสด (cash basic) เนื่องจากงบการเงินควรแสดงข้อมูลในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว มิใช่แสดงการรับหรือจ่ายเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด
2.การดำเนินงานต่อเนื่อง (going concern) กิจการไม่มีเจตนาหรือความจำเป็นที่จะเลิกกิจการ หรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ ข้อสมมตินี้มีความสำคัญมากถ้าหากไม่มีข้อสมมตินี้ การกำหนดงวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชีจะยุ่งยากมาก เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ากิจการจะเลิกเมื่อไร นอกจากนี้การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ไม่อาจใช้ราคาทุนเดิม หรือราคาอื่นที่เหมาะสม แต่ต้องใช้ราคาบังคับขายหากคาดว่าจะมีการเลิกกิจการในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้จะมีปัญหาเรื่องการคิดค่าเสื่อมราคา หรือค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพ เพราะไม่สามารถประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ได้ และไม่สามารถแยกประเภทรายการสินทรัพย์ และหนี้สินเป็นรายการหมุนเวียน และไม่หมุนเวียนได้ ตลอดจนไม่สามารถรับรู้รายจ่ายฝ่ายทุนเป็นสินทรัพย์แล้วตัดจำหน่ายตามระยะเวลาที่เหมาะสม
แต่ถ้ากิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นที่ไม่สามารถใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่องต่อไปได้ เช่นกิจการกำลังอยู่ในสถานะมีหนี้สินล้นพ้นตัว 


หรือถูกฟ้องล้มละลาย กิจการอาจใช้เกณฑ์อื่นในการจัดทำงบการเงิน แต่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้กิจการไม่สามารถใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดเผยเกณฑ์บัญชีอื่นที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินด้วย


ที่มา 
http://admin.ptwit.ac.th/account/?page_id=126