Miss SUPATTRA

Miss SUPATTRA

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เงื่อนไขการเรียนเอกบัญชี

1.นิสิตต้องผ่านรายวิชาการบัญชีขั้นต้น
2.รายวิชาการบัญชีขั้นกลาง 1
3.รายวิชาการบัญชีขั้นกลาง 2
4.รายวิชาการบัญชีขั้นสูง 1
5.รายวิชาการบัญชีขั้นสูง 2

เพลงสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก

แม่บทการบัญชี

แม่บทการบัญชีไม่ถือเป็นมาตรฐานการบัญชี แต่เป็นกรอบหรือแนวคิดขั้นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน ตลอดจนการกำาหนดและนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีรองรับ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงิน ทุกฝ่ายมีความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน แม่บทการบัญชีเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

1. วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
งบการเงินจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งแสดงไว้ในงบดุล งบกำไรขาดทุน และ งบกระแสเงินสด ตามลำดับ รวมถึง หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายละเอียดประกอบ และข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินโดยฝ่ายบริหารของกิจการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำ และนำเสนองบการเงินของกิจการ ข้อมูลในงบการเงินต้องมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินทุกประเภท กล่าว คือข้อมูลที่นำเสนอจะต้องมีลักษณะร่วม ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทั่วไปของผู้ใช้งบการเงินได้ทุกกลุ่ม แม่บทการบัญชีมิได้เน้นถึงความสำาคัญของผู้ใช้งบการเงินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่โดยนัยสำคัญแล้วให้ถือความต้องการของผู้ลงทุนเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม งบการเงินไม่อาจให้ข้อมูลทุกประเภทที่ผู้ใช้งบการเงินต้องการได้เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่แสดงถึงผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ในอดีต โดยที่งบการเงินไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน

แม่บทการบัญชีเน้นว่า แม้ข้อมูลในงบการเงินจะเป็นข้อมูลในอดีต แต่สามารถช่วยผู้ใช้งบการเงินในการประมาณการและการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อใช้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจได้ การตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินนั้น รวมถึงการประเมินผลการบริหารงาน คามสามารถในการทำกำไร และการก่อกระแสเงินสดของกิจการ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกรณีใดกรณีหนึ่ง เช่น การตัดสินใจโยกย้าย หรือเปลี่ยนผู้บริหาร การขายหรือถือเงินลงทุนในกิจการต่อไป การอนุมัติวงสินเชื่อ การดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ และการกำกับดูแลของหน่วยงานราชการ เป็นต้น

เพื่อให้การจัดทำงบการเงินบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น แม่บทการบัญชีได้กำหนดข้อสมมุติไว้ 2 ข้อ คือ

เกณฑ์คงค้าง
การบันทึกรายการทางบัญชี จะบันทึกก็ต่อเมื่อรายการนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่บันทึกเมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด โดยบันทึกถูกต้องตรงตามงวดบัญชีที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินงานต่อเนื่อง
งบการเงินจัดทำขึ้นภายใต้ข้อสมมุติที่ว่า กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำเนินอยู่ต่อไปในอนาคต โดยไม่มีเจตนาหรือความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ

2. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน
งบการเงินจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ก็ต่อเมื่อ งบการเงินนั้นมีลักษณะเชิงคุณภาพ ตามที่แม่บทการบัญชีกำหนดไว้ดังนี้

ความเข้าใจได้
ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ในทันทีที่ผุ้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าว ภายใต้ข้อสมมติที่ว่าผุ้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ และการบัญชี รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว

ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
ข้อมูลจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินได้นั้น ต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งบการเงินควรคำานึงถึงความมีนัยสำาคัญในการพัฒนาความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของข้อมูลนั้น ข้อมูลจะถือว่ามีนัยสำาคัญ เมื่อการละเว้นที่จะแสดงข้อมูลนั้น หรือการแสดงข้อมูลนั้นอย่างผิดพลาด ทำาให้ผู้ใช้งบการเงินตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจผิดพลาด หรือตัดสินใจแตกต่างไปจากที่ควรจะเป็น หากผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลนั้น

ความเชื่อถือได้
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องเชื่อถือได้ โดยเป็นข้อมูลที่ปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญและความลำเอียง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

1.1 การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม หมายถึงข้อมูลควรแสดงตามเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือเป็นข้อมูลที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน

1.2 เนื้อหาสำาคัญกว่ารูปแบบ หมายถึง ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจไม่ใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว

1.3 ความเป็นกลาง หมายถึง ข้อมูลที่แสดงต้องมีความเป็นกลาง หรือปราศจากความลำาเอียง โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะชี้นำผู้ใช้งบการเงิน

1.4 ความระมัดระวัง หมายถึง การใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้งบการเงินมีความน่าเชื่อถือ

1.5 ความครบถ้วน หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องมีความครบถ้วน โดยพิจารณาความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ เพื่อมิให้มีความผิดพลาด หรือทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด

การเปรียบเทียบกันได้
ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินในรอบระยะเวลาต่างกันของกิจการเดียวกัน และงบการเงินในรอบระยะเวลาเดียวกันของกิจการแต่ละกิจการได้ แต่มิได้หมายความว่าข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันตลอดไป และไม่สามารถยกเป็นข้ออ้างที่จะไม่นำมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมกว่ามาถือปฏิบัติ เพื่อให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ การเปรียบเทียบกันได้ของข้อมูลช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้น รวมทั้งเปรียบเทียบแนวโน้มกับกิจการอื่นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน

3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงินองค์ประกอบของงบการเงินและคำนิยามองค์ประกอบของงบการเงิน คือ ประเภทของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีตามลักษณะเชิงเศรษฐกิจของรายการและเหตุการณ์นั่นที่แสดงไว้ในงบการเงิน ซึ่งแม่บทการบัญชีได้ให้คำานิยามองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการใช้คำนิยามดังกล่าวในการตีความเพื่อจำาแนกรายการต่าง ๆ ในงบการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินในงบดุล ได้แก่

1. สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต

2. หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าว เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำาระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

3. ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ หลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว

- องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดผลการดำาเนินงานในงบกำไรขาดทุน

1. รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ

2. ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ

การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน
การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุล และงบกำาไรขาดทุน หากรายการนั้นเป็นไปตามคำานิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการทุกข้อดังต่อไปนี้

1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าจะเข้าหรือออกจากกิจการ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ยึดหลัก ความน่าจะเป็น ในการพิจารณาการบันทึกรายการในงบการเงิน

2. รายการดังกล่าวมีราคาทุน หรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ยึดหลักการประมาณ ที่สมเหตุสมผลในการพิจารณาการบันทึกรายการในงบการเงินสำหรับรายการที่ไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว กิจการไม่ควรรับรู้รายการนั้นแต่ควรเปิดเผยใน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำาอธิบายเพิ่มเติม หากรายการนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผุ้ใช้งบการเงินของกิจการ

การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน
การวัดมูลค่า คือ การกำาหนดจำานวนเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุล และงบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดค่าต่าง ๆ ดังนี้

1. ราคาทุนเดิม หมายถึง การบันทึกราคาสินทรัพย์ด้วยจำานวนเงินที่จ่ายไป หรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งของที่นำาไปแลกสินทรัพย์มา ณ วันที่เกิดรายการ และการบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่าย เพื่อชำาระหนี้ที่เกิดจากการดำาเนินงานตามปกติของกิจการ

2. ราคาทุนปัจจุบัน หมายถึง การแสดงสินทรัพย์ด้วยราคาในปัจจุบัน โดยเทียบกับจำานวนเงินที่ต้องจ่ายในขณะนั้น สำาหรับสินทรัพย์ชนิดเดียวกัน หรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยราคาที่ควรเป็นในปัจจุบัน โดยเทียบกับจำานวนเงินที่ต้องใช้ชำาระภาระผูกพันในขณะนั้น

3. มูลค่าที่จะได้รับ หมายถึง การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำานวนเงินที่อาจได้มาในขณะนั้น หากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขาย การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำาระหนี้สินที่เกิดจากการดำาเนินงานตามปกติ

4. มูลค่าปัจจุบัน หมายถึง การแสดงสินทรัพย์ และหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2009, 05:52:01 pm โดย นายบัญชี