Miss SUPATTRA

Miss SUPATTRA

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ลายเพ้นท์เล็บ



การเพ้นท์เล็บ กลายเป็นกิจกรรมยอดฮิตของเพื่อนๆ วัยใสในช่วงปิดเทอมไปเรียบร้อยแล้ว แต่จะเพ้นท์เล็บลายธรรมดาก็คงจะไม่โดดเด่นอะไร วันนี้เกร็ดดี้เลยมีลายเพ้นท์เเล็บแบบใหม่ๆ มาให้ได้เลือกกัน แต่ถ้าลายไหนยากเกินไป ก็สามารถนำแบบไปให้ร้านทำเล็บ ช่วยทำให้ก็ได้นะคะ อย่าลืมว่าเปิดเทอมเมื่อไรเล็บจะต้องสะอาด อย่าให้มีลวดลายเพ้นท์อยู่ที่เล็บ เพื่อนๆ จะได้สวยอย่างถูกระเบียบ เดี๋ยวโดนคุณครูดุจะหาว่าเกร็ดดี้ไม่เตือนนะจ๊ะ...อิอิ
เพื่อนๆ คนไหนอยากจะฝึกเพ้นท์เล็บมาดูอุปกรณ์ในเบื้องต้นกันก่อนดีกว่าค่ะ

แปรงพู่กัน สำหรับการเพ้นท์นั้นเอง พู่กันมีหลายแบบทั้งแบบปลายตัด และปลายเรียวเล็ก หลายแบบตามความเหมาะของลวดลาย และที่สำคัญหลังจากใช้แล้วอย่าลืมล้างให้สะอาด เพื่อยืดอายุการใช้งานของแปรงค่ะ
สีทาเล็บ นอกจากสีทาเล็กแบบทั่วไปแล้ว ถ้ามีสีอะครีลิคสำหรับเพ้นท์เล็บ จะทำให้การเพ้นท์ลายลงบนเล็บง่ายยิ่งขึ้น ส่วนมากจะใช้ยาทาเล็บรองพื้นก่อนเพ้นท์ด้วยสีอะครีลิค สิ่งสำคัญในการเพ้นท์เล็บอีกอย่างก็คือน้ำยาเคลือบเล็บ ทาทับหลังจากเล็บแห้งจากการเพ้นท์ จะช่วยรักษาลวดลายได้ยาวนานขึ้น
เล็บสีพื้นสดๆ อย่างเช่น สีชมพูจิ๊ด แบบสาวแฟชั่น ก็ดูเก๋ไม่เบานะคะ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสร้างความสวยถึงไม่มีลายเพ้นท์ก็ตาม สำหรับมือใหม่ที่รักการเพ้นท์ต้องอาศัยเวลา ในการฝึกฝนสักหน่อย ค่อยๆ พยายามเพ้นท์กันนะคะ


มือสวยจากครัว

มือสวยจากครัว

รู้หรือเปล่าว่า เพียงคุณสาวๆ เดินเข้าครัวก็จะเจอกับเหล่าพันธมิตรความงาม ที่จะมาเป็นกองหนุนยามผลิตภัณฑ์ดูแลมือหมดไปแบบไม่รู้ตัว แล้วคุณจะรู้ว่าของเหลือใช้จากก้นครัวก็เนรมิตให้มือคุณสวยได้
การทำเล็บ ลายเล็บ เล็บสำเร็จรูป m4-u  nail art ต่อเล็บ ทำเล็บ เพ้นท์เล็บ เล็บสวย เติมสีสันให้เล็บสวย  มือสวยจากครัว
1. สูตรสครับช่วยให้มือขาวใสด้วยโยเกิร์ตสตรอว์เบอรี่
ส่วนผสม

  • โยเกิร์ตสตรอว์เบอรี่ 2 1/2 ออนซ์
  • น้ำตาลอ้อย 1/2 ถ้วย
  • น้ำมันมะกอก 1 - 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • กลีบกุหลาบ 2 กลีบ
วิธีทำ
ผสมโยเกิร์ตและน้ำมันมะกอกลงไป ฉีกกลีบกุหลาบออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วคนให้เข้ากัน ใส่ตู้เย็นจนเริ่มเย็นจากนั้นใส่น้ำตาลอ้อยคนให้เข้ากันแล้วนำไปใช้ขัดผิวทันที ขัดเสร็จทิ้งไว้ 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด ผิวจะนุ่มเนียนขึ้น ให้ทำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง จะเห็นผลใน 1 เดือน
2. สูตรพอกให้นุ่มเนียนน่าสัมผัสด้วยชอกโกแลต
ส่วนผสม

  • โกโก้ 1/3 ถ้วย
  • เฮฟวี่ครีม 3 ช้อนโต๊ะ
  • แป้งข้าวโอ๊ต 3 ช้อนชา
  • น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา
วิธีทำ
ผสมส่วนผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้วคนให้ส่วนผสมข้นจนเป็นเนื้อเดียว นำมาพอกที่มือ แล้วห่อด้วยพลาสติก ทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นเช็ดออกด้วยผ้าอุ่นๆ และล้างน้ำเย็นอีกครั้งให้สะอาด ทำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หลังจากสครับผิวทุกครั้ง ผิวมือจะนุ่มเนียนน่าจับ
3. สูตรดูแลหนังกำพร้ารอบเล็บ
ส่วนผสม

  • น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันเมล็ดองุ่น 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันโจโจบาออยล์ 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันวิตามินอี 1 ช้อนชา
  • น้ำมันหอมระเหยสกัดจากทีทรี 1 ช้อนชา
  • น้ำมันหอมระเหยสกัดจากลาเวนเดอร์ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
ผสมส่วนผสมทั้งหมดในภาชนะที่ทึบแสง ให้หลอดหยดน้ำมันลงไปที่หนังกำพร้ารอบเล็บแล้วใช้นิ้วมือนวดให้น้ำมันซึมลงไป ให้ผิวบริเวณนั้นอ่อนนุ่มไม่ฉีกขาดง่าย หากใช้ไม่หมดเก็บไว้ในตู้เย็นใช้ต่อได้

โรนัลโด้ ออกเรื่องเล่าเช้านี้

พุดดิ้งชาเขียวถั่วแดง

พุดดิ้งชาเขียวถั่วแดง
นุ่มลิ้นเคล้ากลิ่นหอมละมุนของพุดดิ้งชาเขียว แต่งหน้าด้วยถั่วแดงบดกับวิปปิ้งครีมให้กลิ่นอายญี่ปุ่นผสานกับรสชาติในแบบตะวันตก เมนูนี้ไม่เพียงแต่เป็นเมนูของหวานใหม่ล่าสุดจากครัว H & C ที่รับประทานง่ายสบายอารมณ์ใครได้ชิมก็ติดใจ แถมทำเองได้ไม่ยากอีกด้วย
พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 316.96 กิโลแคลอรี โปรตีน 5.69 กรัม ไขมัน 14.14 กรัม คาร์โบไฮเดรต 43.44 กรัม ไฟเบอร์ 2.74 กรัม
ชาเขียวมีสารพอลิฟีนอล(Polyphenol)ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ยับยั้งการเกิดเนื้องอกต่อต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดได้
พุดดิ้งชาเขียวถั่วแดง
ส่วนผสม (สำหรับ 20 ถ้วย) 
เตรียม 10 นาที ปรุง 15 นาที (ไม่รวมเวลาแช่ตู้เย็น)เจลาตินแผ่น 15 แผ่น
วิปปิ้งครีม 1,020 กรัม
นมสด 1,080 กรัม
น้ำตาลทราย 270 กรัม
ผงชาเขียว 36 กรัม
ส่วนผสมท็อปปิ้ง
ถั่วแดงบด 700 กรัม
เกลือและวิปปิ้งครีมตามชอบ
วิธีทำ
1. แช่เจลาตินในน้ำเย็นจนนิ่ม
2. ค่อยๆ เทนมสดลงในผงชาเขียว คนจนผงชาเขียวละลาย
3. ตั้งหม้อไฟปานกลาง อุ่นนมชาเขียว วิปปิ้งครีม น้ำตาลทราย คนจนน้ำตาลละลาย
4. พอส่วนผสมทั้งหมดเริ่มร้อน ใส่เจลาตินลงไป คนให้เข้ากัน
5. ปิดไฟ เทใส่ถ้วย พักให้เย็น นำเข้าตู้เย็นแช่ทิ้งไว้ 1 คืน
6. ผสมถั่วแดงบดกับเกลือปริมาณตามชอบให้เข้ากัน ตักใส่หัวบีบ บีบแต่งหน้าพุดดิ้งให้ทั่ว ตกแต่งด้วยวิปปิ้งครีม

TIP
ใช้ไฟกลางตอนต้มส่วนผสมในขั้นตอนที่ 3 ให้ส่วนผสมในหม้อละลายเข้าด้วยกันแค่พออุ่นมีไอขึ้นแล้วปิดไฟ จะช่วยให้เนื้อพุดดิ้งที่ได้สวยเนียนน่ารับประทาน 

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี


Romney and Steinbart (2003, p.2) จำกัดความไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1.             การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ
2.             การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม
3.             การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2 ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกธุรกิจหรือผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ
การบัญชี
1. ความหมาย
          เอฟเอเอสบี (FASB, อ้างถึงใน พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพร เชิงเอี่ยม , 2545,  หน้า 5) ระบุว่า การบัญชี คือ ระบบสารสนเทศระบบหนึ่ง มีหน้าที่เก็บรวบรวม บันทึกและจัดเก็บรายการค้าและเหตุการณ์ทางธุรกิจต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้น พร้อมมีการนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ
          จากความหมายข้างต้นการบัญชี คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน
          ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย
          ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง
          ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่ เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ
2. การจำแนกประเภท
          สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น 2 หมวดคือ
          2.1 การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฎจักรการบัญชี มีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่ การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้า ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่าน รายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภท จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลา บัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภท หลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้า บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชี
2.2 การบัญชีบริหาร คือ การนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตาม ความต้องการของผู้ใช้ กำหนดรูปแบบของรายงานไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงาน หรือผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงาน
3. หลักการบัญชี คือ มีการนำเสนอสารสนเทศทางการที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอม รับอย่างกว้างขวางของผู้ใช้งบการเงิน ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและ มีความสอดคล้องกับผลักบัญชีที่รับรองทั่วไป สามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ดังนี้
          3.1 หลักการดำรงอยู่ของกิจการ
          3.2  หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
          3.3 หลักงวดเวลาบัญชี
          3.4 หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น 5 หมวดดังนี้
                          3.4.1 สินทรัพย์ หมายถึงทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของธุรกิจและสามารถนำไปใช้ในอนาคตสินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
                          3.4.2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีต มีสัญญาว่าจะมีการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต
                          3.4.3 ส่วน ของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออก แล้ว
                          3.4.4 รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชี รวมถึงรายได้กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
                          3.4.5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลางวดเวลาบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจาก กิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
3.5 หลักการบัญชีคู่ คือ การบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของ รายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทคือ
3.5.1 ด้านเดบิต
3.5.2 ด้านเครดิต
          3.6 หลักการใช้หน่วยเงินตรา หน่วยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการและยังใช้ เป็นหน่วยวัดราคาอีกด้วย ดังนั้น หน่วยเงินตราจะแสดงถึงตัวเลขที่เป็นตัวเลขเพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานและการ เปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจในประเทศไทยจะใช้หน่วยเงินบาทและสตางค์
          3.7 หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม คือ เอกสารขั้นต้นเช่น ใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานก่อนการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นจริง
          3.8 หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ
                          3.8.1 เกณฑ์เงินสด รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจกาหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ
                          3.8.2 เกณฑ์คงค้าง  ราย ได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่ มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้
                          1.การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น
                          2. การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในเดือนมีนาคม
          3.9 หลัก การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย การนำรายได้ที่เกิดขึ้นของงวดเวลาบัญชีนั้นทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ก่อ ให้เกิดรายได้นั้นจึงจะได้ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง
          3.10 หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์  มีการประมาณอายุใช้งานของสินทรัพย์ตลอดจนมีการตัดจ่ายต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏในกำไรขาดทุน
สารสนเทศทางการบัญชี
1.แนวคิด
          สารสนเทศ ทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการ เงิน ดังนี้
1.             ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ
2.             ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3.             ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4.             ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5.             ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6.             ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
2. การจำแนกประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          2.1 เอกสารทางการบัญชี คือ หลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้น ตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึก ข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
                          2.1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
                          2.1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือ เอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ
                          2.1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
                          2.1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
          2.2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
                          2.2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการแบ่งได้ดังนี้
                          1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
                          2. งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
                          3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
                          4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
                          5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
                          1. เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
                          2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละหัวข้อบัญชี
                          3. ข้อมูลส่วนอื่น
2.2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
                          1.รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่กำหนดให้ธุรกิจบันทึกภาษีขายที่ธุรกิจพึงเรียกเก็บจากลูกค้า
                          2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทึกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
                          3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
          2.3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ไดจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการ บริหารภายในองค์การ การกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยก ตัวอย่างได้ดังนี้
          2.3.1 รายงานด้านงบประมาณ
          2.3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
          2.3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
          Hall ระบุถึง การรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบดังนี้
1.             ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
2.             ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
3.             ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ
ระบบ ประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงิน ผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยว ข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสิ้น งวดวันออกบัญชี การประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนอง ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นซ้ำๆ ในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นซ้ำของธุรกรรมนี้เรียกว่า วัฏจักรรายการค้า
          พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพรรณ เชิงเอี่ยม จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น4 ประเภทคือ
1.1      วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1.             การสั่งซื้อละรับสินค้า
2.             การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
3.             การซื้อสินทรัพย์ถาวร
4.             การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2      วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1.             การขายและจัดส่งสินค้า
2.             การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน
3.             การควบคุมลูกหนี้และรับชำระเงิน
1.3      วัฏจักร การแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
1.             การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
2.             การผลิต
3.             การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4      วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1.             การควบคุมเงินสด
2.             การควบคุมสินทรัพย์
2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ
          ลำดับ แรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นต้อง จัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจ อย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้ แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆโดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจาก ระบบสารสนเทศอื่น เพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
          1.ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
          2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
          3. ระบบสารสนเทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจ่ายเงินสดเข้าสู่ระบบ
          4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ระบบ
5. ผู้จัดการงานจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
          3.1 การบันทึกรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนำเข้ารายการปรับปรุงบัญชี อาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ อื่น
          3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การ ปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบ ทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4. ระบบออกรายงานทางการเงิน
          4.1 การประมวลผลรายงาน
          4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
          4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5. ระบบออกรายงานทางการบริหาร
          5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
          5.2 การประมวลผลรายงาน
          5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
1.โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้ เฉพาะกับงานด้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกรายงานทางการเงินและการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบ ทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึง การรับเข้า การประมวลผล และการส่งออกข้อมูล
          โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูล รายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.             มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
2.             มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
3.             ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
4.             มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
5.             เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
6.             มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
7.             มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
8.             มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
9.             การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ
10.      มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
11.      มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
12.      มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
13.      การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
2. การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
          งบ การเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการ เงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
          คณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไดพัฒนาฐานข้อมูลเอดการ์ขึ้น เพื่อใช้เก็บรวบรวมรายงานขึ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่เป็นข้อความแต่ไม่สามารถนำรายงานทางการเงิน ของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากโครงสร้างงบการเงินต่างกันและ ถูกพัฒนาด้วยชุดคำสั่งที่ต่างกัน
3. โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย โดยทำการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยมี การใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียง ครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ
          ความ สามารถของโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การยุคปัจจุบัน นอกจากการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การด้วยฐานข้อมูลเดียวกัน ขยายขอบเขตไปถึงการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การเข้าด้วยกันหรืออีก นัยหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การเข้ากับการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายใน องค์การคู่ค้า